เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 3.โมหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกกระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาใน
พระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน’ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[444] ก็ ภิกษุใด เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าว
อย่างนี้ว่า “กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร
อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุนั้นได้ว่า
“เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ 2-3 ครั้งมาแล้ว
ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า” ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ แต่
ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะสมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตาม
ธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่าน ไม่ใช่
ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดี ที่เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ท่านไม่
ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะแสร้งทำผู้อื่นให้
หลงนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[445] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ
คำว่า เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ คือ เมื่อภิกษุกำลังแสดงปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :553 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 3.โมหนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประพฤติไม่สมควรแล้ว ตั้งใจอยู่ว่า “ขอ
ภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า ‘พวกเราต้องอาบัติเพราะความไม่รู้ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้
นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุผู้ประสงค์จะทำให้หลงนั้นได้ว่า “เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ 2-3 ครั้งมาแล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า”
ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะ
สมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตามธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่ง
ขึ้นไปอีก
ภิกษุทั้งหลายพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม
[446] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงยก
โมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
อยู่ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี สงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
โมหาโรปนกรรมอันสงฆ์ยกขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

บทภาชนีย์
เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :554 }